จะรู้ได้อย่างไร ว่าถึงเวลาต้อง “ขูดหินปูน” คราบหินปูน เกิดจากแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่สะสมรอบๆฟัน ทําให้เกิดการอักเสบที่เหงือก สังเกตได้จากเหงือกมีสีแดง บวมและเลือดออกง่าย การบวมนั้นทําให้ร่องเหงือกที่อยู่ระหว่างฟันและเหงือกมีความลึกมากขึ้น ซึ่งทําให้ยากต่อการรักษาความสะอาด ส่งผลให้เกิดโรครำมะนาดหรือโรคปริทันต์อักเสบในที่สุด เราจะสังเกตคราบหินปูนเบื้องต้นได้ ดังนี้ 1.มีคราบเหลืองๆ เกาะตามซอกฟัน ไม่สามารถใช้แปรงสีฟัน แปรงออกได้ 2.มีกลิ่นปาก 3.มีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย หรือเลือดออกขณะแปรงฟัน ดังนั้น เราจึงควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน
Category Archives: บทความน่ารู้เกี่ยวกับฟัน
ฟันผุ โรคฟันผุเป็นโรคที่มีการทำลายฟันส่วนที่โผล่ขึ้นมาในช่องปาก เกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนตัวฟัน และรากฟันที่โผล่พ้นออกมาจากเหงือก ซึ่งในสภาวะปกตินั้น ภายในช่องปากจะมีกระบวนการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ระหว่างชั้นผิวเคลือบฟัน กับน้ำลายตลอดเวลาอย่างสมดุล ทำให้ไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน แต่ในภาวะที่ภายในช่องปากมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอาหารแป้งและน้ำตาล จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของน้ำลายเป็นกรด ทำให้สูญเสียแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสออกจากตัวฟันมากกว่าการได้รับกลับคืน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยจะทำให้เกิดฟันผุเป็นรูได้ ถ้าปล่อยให้มีการผุลุกสามมากขึ้นจนถึงชั้นประสาทฟัน ก็จะทำให้มีอาการปวดฟัน พบหนองปลายรากและอาจจะบวมจากหนองออกมาบริเวณแก้มหรือรอบๆ บริเวณคางหรือลำคอได้ ดังนั้น ถ้าพบมีอาการผิดปกติภายในช่อง ควรรับมาพบทันตแพทย์ โดยเร็ว
ขั้นตอนการทำความสะอาดในช่องปากเมื่อใส่สะพานฟัน สะพานฟัน เป็นอุปกรณ์ทันตกรรมที่ทันตแพทย์ใช้เพื่อที่จะปิดช่องว่างระหว่างฟัน ทดแทนฟันจริงที่เราสูญเสียไป สะพานฟัน นอกจากจะช่วยเติมเต็มพื้นที่ว่าง ทำให้เรากลับมามีความมั่นใจในรอยยิ้มได้เหมือนเดิมแล้ว สะพานฟันยังทำให้เราเคี้ยวอาหาร ใช้ขากรรไกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระจายน้ำหนักของการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ เคลื่อนย้ายตำแหน่งไปจากจุดที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดฟันล้ม รวมทั้งยังช่วยให้การพูด การออกเสียง เป็นปกติด้วย และแน่นอนว่า เมื่อเรามีสะพานฟันอยู่ในช่องปาก เราก็ต้องให้ความสำคัญกับการดูแล และทำความสะอาด เพื่อให้ช่องปากของเรามีสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา อย่างเช่นฟันผุ หรือโรคเหงือก การดูแลทำความสะอาดปาก และฟัน ที่มีสะพานฟันนั้น นอกจากการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน ตามปกติแล้ว ก็จะต้องมีเทคนิคในการทำความสะอาดเพิ่มเติม เพราะบ่อยครั้งที่สะพานฟันจะมีเศษอาหาร และคราบหินปูนไปเกาะติด อีกทั้งการดูแล ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ยังช่วยยืดอายุของสะพานฟัน ให้ใช้ได้ยาวนานอีกด้วย เทคนิคที่สำคัญในการทำความสะอาดสะพานฟัน มีดังนี้ 1. แปรงฟันตามปกติอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแปรงแรง หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง เพราะจะทำให้สะพานฟันสึกหลอ และเกิดความระคายเคืองกับเหงือกได้ 2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน และซอกของสะพานฟันให้ทั่วถึง รวมทั้งส่วนล่างของสะพานฟันด้วย ซึ่งการทำความสะอาดในส่วนล่างของสะพานฟันนั้น ไหมขัดฟันทั่วไป จะสอดเข้าไปทำความสะอาดได้ยาก […]
1.ควรดื่มน้ำบ่อยๆ 2.สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ ถ้ามีอาการปวดมาก 3.บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ วันละ 2-3 ครั้ง 4.ผ่อนคลายความเครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอ 5.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแข็งๆหรือเครื่องดื่มที่ร้อนมากเกินไป 6.ใช้ยาป้ายแผลภายในช่องปาก เช่น ยาชาชนิดเจลหรือขี้ผึ้งสำหรับป้ายแผลในช่องปาก
การทำความสะอาดภายในช่องปากด้วยการแปรงฟันนั้น อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากขนแปรงไม่สามารถซอกซอนเข้าไปทำความสะอาดบริเวณซอกฟันได้ ทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหารและแผ่นคราบจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุบริเวณซอกฟันได้ ดังนั้นจึงควรใช้ไหมขัดฟัน ช่วยทำความสะอาดในซอกฟันที่แปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง โดยควรใช้ภายหลังการทานอาหาร หรืออย่างน้อยวันละ 1 ครั้งหลังการแปรงฟันในตอนเย็น
– ลดการรับประทานอาหารให้น้อยลงในระหว่างวัน เพื่อลดเวลาที่ฟันต้องสัมผัสกรด ซึ่งกรดจะสร้างขึ้นทุกครั้งหลังการทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน – อาจใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ – รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยลดการเกิดภาวะเลือดออกตามไรฟัน และผักที่มีเส้นใยสูง ซึ่งใยอาหารเหล่านี้จะช่วยขัดฟันให้ขาวสะอาดได้ด้วย – แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
การถอนฟัน หลายๆคนคิดว่า เมื่อเราปวดฟันแล้ว ก็น่าจะสมควรถอนฟันออกไป จะได้ไม่ปวดจนทรมานอีก ซึ่งจริงๆแล้วในหลายกรณี การถอนฟัน ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น กรณีโรคเหงือก หากทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่าสามารถเก็บฟันไว้ได้ แต่จะใช้วิธีรักษาโดยการ ขูดหินปูน เกลารากฟันแทน หรือในกรณีที่ฟันผุลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟันแล้ว แต่สภาพเนื้อฟันส่วนที่ยังไม่ผุยังมีเยอะและยังไม่ผุลงไปในรากฟัน ก็จะใช้วิธีการรักษารากฟันก่อนการบูรณะฟันถาวร เป็นต้น
- 1
- 2