Category Archives: Uncategorized

ขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

ขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การอุดฟันจะช่วยบูรณะฟันที่เสียหายจากฟันผุให้กลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ ในการเลือกวัสดุอุดฟันที่เหมาะสมนั้น ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น ต้องอุดฟันกว้างแค่ไหน คุณแพ้วัสดุอุดฟันประเภทใดหรือไม่ ตำแหน่งที่ต้องทำการอุดฟัน เป็นต้น วัสดุบูรณะฟันชนิดเรซินคอมโพสิตเป็นวัสดุที่ลอกเลียนลักษณะฟันธรรมชาติที่ดี เนื่องจากมีสีเหมือนฟัน สวยงามเป็นที่นิยมและใช้แทนที่วัสดุบูรณะฟันอมัลกัม ปัจจุบันมีการพัฒนาเรซินคอมโพสิตมีคุณสมบัติทางด้านความแข็งแรงและคุณสมบัติในการใช้งานดีขึ้นกว่าเรซินคอมโพสิตในยุคแรก ซึ่งขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันนั้น จะมีขั้นตอนดังนี้ 1.ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คฟันที่ผุ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการบูรณะฟัน 2.กรอเนื้อฟันในส่วนที่ผุรวมถึงเตรียมโพรงฟันให้สะอาด ให้พร้อมสำหรับการอุดฟัน ในกรณีที่รอยผุลึกมาก ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้ใส่ยาชา เพื่อลดอาการเสียวฟันในขณะทำการรักษา 3.ทันตแพทย์จะเตรียมผิวฟันด้วยกรดและล้าง จากนั้นจึงทาสารยึดติดบนผิวฟันที่ล้างและเป่าพอหมาดๆ แล้วจึงใส่วัสดุอุดฟันลงไปในโพรงฟันที่เตรียมไว้ 4.ตกแต่งวัสดุอุดฟันให้มีรูปร่างเหมือนฟันปกติ 5.ทำการฉายแสงบริเวณวัสดุ เพื่อให้วัสดุแข็งตัว 6.หลังการอุดจนเต็มโพรงฟันที่เตรียมไว้แล้ว ทันตแพทย์จะทำการเช็คการสบฟันและขัดแต่งวัสดุให้เรียบกลืนไปกับผิวฟันปกติของเรา

ใครๆ ก็อยากถ่ายรูปกับฟันขาว

ใครๆ ก็อยากถ่ายรูปกับฟันขาว การฟอกสีฟัน เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพได้เป็นอย่างดี เพราะจะทำให้เกิดความมั่นใจเวลาที่ต้องพูดคุยกับผู้อื่น ดังนั้นวัยรุ่นไปจนถึงคนวัยทำงานมักจะหันมาให้ความสำคัญกับสีของฟันมากกว่าแต่ก่อน โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ฟอกสีฟันที่สามารถทำเองได้ที่บ้านอยู่มากมาย อย่างไรก็ดี การฟอกสีฟันที่ควรทำ คือ ควรเข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินการรักษา ซึ่งการฟอกสีฟันในคลินิก ทันตแพทย์จะใช้สารฟอกสีฟันที่เข้มข้นกว่า และให้ผลลัพธ์รวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ฟอกสีด้วยตัวเองที่ซื้อมาจากร้านค้า โดยฟันของคุณจะขาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่พบทันตแพทย์ในครั้งแรก โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง มีผลข้างเคียงน้อยและมีความปลอดภัยสูง

สะพานฟัน

สะพานฟันคือ ฟันเทียมบางส่วนติดแน่นที่มีส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลางใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกอะคริลิคให้เกะกะ เราไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เอง ดังนั้น มาดูขั้นตอนการทำความสะอาดช่องปาก เมื่อต้องใส่สะพานฟันกัน – แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ – ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทั่วไปตามปกติ แต่บริเวณใต้ซอกของสะพานฟัน ต้องใช้ที่ร้อยไหมขัดฟัน (Floss Threader) หรือใช้ Superfloss ช่วยในการทำความสะอาดฟันด้วย – ตรวจฟันโดยทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน – พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานหรือขนมขบเคี้ยว แต่ถ้าทานแล้ว ก็ควรที่จะแปรงฟันหลังทานขนมด้วย – ควรเน้นทานผักและผลไม้เป็นประจำ เพราะมีเส้นใยอาหาร ช่วยทำความสะอาดฟัน ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของเหงือกได้ทางหนึ่งด้วย

ขั้นตอนการทำความสะอาดในช่องปากเมื่อใส่สะพานฟัน

ขั้นตอนการทำความสะอาดในช่องปากเมื่อใส่สะพานฟัน สะพานฟัน เป็นอุปกรณ์ทันตกรรมที่ทันตแพทย์ใช้เพื่อที่จะปิดช่องว่างระหว่างฟัน ทดแทนฟันจริงที่เราสูญเสียไป สะพานฟัน นอกจากจะช่วยเติมเต็มพื้นที่ว่าง ทำให้เรากลับมามีความมั่นใจในรอยยิ้มได้เหมือนเดิมแล้ว สะพานฟันยังทำให้เราเคี้ยวอาหาร ใช้ขากรรไกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระจายน้ำหนักของการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ เคลื่อนย้ายตำแหน่งไปจากจุดที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดฟันล้ม รวมทั้งยังช่วยให้การพูด การออกเสียง เป็นปกติด้วย และแน่นอนว่า เมื่อเรามีสะพานฟันอยู่ในช่องปาก เราก็ต้องให้ความสำคัญกับการดูแล และทำความสะอาด เพื่อให้ช่องปากของเรามีสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา อย่างเช่นฟันผุ หรือโรคเหงือก การดูแลทำความสะอาดปาก และฟัน ที่มีสะพานฟันนั้น นอกจากการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน ตามปกติแล้ว ก็จะต้องมีเทคนิคในการทำความสะอาดเพิ่มเติม เพราะบ่อยครั้งที่สะพานฟันจะมีเศษอาหาร และคราบหินปูนไปเกาะติด อีกทั้งการดูแล ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ยังช่วยยืดอายุของสะพานฟัน ให้ใช้ได้ยาวนานอีกด้วย เทคนิคที่สำคัญในการทำความสะอาดสะพานฟัน มีดังนี้ 1. แปรงฟันตามปกติอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแปรงแรง หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง เพราะจะทำให้สะพานฟันสึกหลอ และเกิดความระคายเคืองกับเหงือกได้ 2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน และซอกของสะพานฟันให้ทั่วถึง รวมทั้งส่วนล่างของสะพานฟันด้วย ซึ่งการทำความสะอาดในส่วนล่างของสะพานฟันนั้น ไหมขัดฟันทั่วไป จะสอดเข้าไปทำความสะอาดได้ยาก […]

ฟันคุด

ฟันคุด   สำหรับคนที่เคยเป็นฟันคุดแล้วคงซาบซึ้งถึงการปวดฟันคุดเป็นอย่างดี ยิ่งต้องเข้ารับการผ่าฟันคุดด้วยแล้ว จะมีทั้งความกลัวก่อนและระหว่างผ่าฟันผสมโรงด้วยความเจ็บปวดฟันคุด เป็นที่ทราบกันดีว่าคนเรามีฟันด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยฟันแท้จะมีด้วยกัน 32 ซี่ แต่บางคนอาจมีครบและไม่ครบ ซึ่งฟันที่ขึ้นสุดท้ายสุดที่เรียกว่าฟันคุดจะมีลักษณะการขึ้นแบบเฉียงหรือเอียงติดฟันข้างเคียง ขึ้นมาโดยไม่ได้ฝังอยู่ในขากรรไกร จึงทำให้หลายคนปวดจนสุดจะทน   ชนิดของฟันคุดที่ควรรู้ ทราบหรือไม่ว่า ฟันคุด มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ หนึ่งฟันคุดที่ล้มไปด้านหน้า พบมากที่สุด โดยฟันซี่นั้นหักเป็นมุมไปด้านหน้าทางด้านหน้าของปาก สอง ฟันคุดชนิดตั้งตรง เป็นฟันที่งอกออกมาไม่พ้นขอบเหงือกทั้งหมด สาม ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก เป็นฟันที่งอไปข้างหลังทางด้านหลังของปาก  สี่ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ เป็นฟันกรามที่ทำมุม 90 องศาไปด้านข้าง เข้าไปในรากของฟันกรามซี่ที่สอง   ฟันกรามซี่สุดท้ายที่คุดสามารถจำแนกโดยดูได้จากฟันว่ายังอยู่ในขากรรไกรทั้งหมดหรือไม่ ถ้าฟันยังหุ้มอยู่ในขากรรไกรทั้งหมด เรียกว่าฟันคุดที่ต้องกรอกระดูกและฟัน แต่ถ้าฟันนั้นงอกพ้นขากรรไกรขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นขอบเหงือก เราจะเรียกว่าฟันคุดที่ไม่ต้องกรอกระดูกและฟัน   ช่วงวัยที่เหมาะสมในการถอนหรือผ่าฟันคุด เราแทบจะไม่เคยเห็นคนอายุมาก ๆ มาถอนฟันคุดเท่าไรนัก จะเห็นมากก็จะเป็นช่วงวัย 16 – 25 […]

ถอนฟัน

ถอนฟัน   เมื่อพูดถึงเรื่องการถอนฟันแล้วเชื่อว่าเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วแต่จะต่างเวลากันออกไป ประสบการณ์การถอนฟันของแต่ละคนนั่นอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าทำไมจึงต้องถอนฟันในช่วงเวลานั้น ถ้าว่ากันในวัยเด็กก็จะเป็นการถอนฟันที่เรียกว่าปกติทั่วไปอย่างการถอนฟันน้ำนม บางคนอาจไม่ต้องไปพบทันตแพทย์ฟันก็สามารถหลุดเองได้จากที่บ้าน แต่สำหรับผู้ใหญ่แล้วคงจะทำเช่นนั้นไม่ได้ การถอนฟันจึงต้องอยู่ในความดูแลของทันตแพทย์เพราะอาจมีผลที่ตามมาที่จะต้องได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง   สาเหตุที่ต้องถอนฟันในแต่ละบุคคล สำหรับเหตุผลหลัก ๆ ของการถอนฟันนั้นก็มีหลายสาเหตุ คุณหมอจะทำการวินิจฉัยบางคนมีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน อย่างนี้ก็ต้องใช้วิธีรักษาด้วยการถอนฟัน ไม่เช่นนั้นจะปวดมากและมีการติดเชื้อได้ บางรายก็มีปัญหาในเรื่องของโรคเหงือกขั้นรุนแรง อย่างนี้ก็เป็นสาเหตุที่ต้องมีการถอนฟันด้วยเช่นกัน บางคนได้รับอุบัติเหตุทำให้ฟันหักในแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้คุณหมอก็ต้องเลือกวิธีถอนฟันให้คนไข้เท่านั้น หรือบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งการขึ้นของฟัน เช่น ปัญหาฟันคุด หรือเพื่อการจัดฟัน อย่างนี้คุณหมอก็จำเป็นต้องถอนฟันออกไป   เตรียมตัวให้พร้อมก่อนรับการถอนฟัน สำหรับคนที่รู้ตัวว่าจะต้องโดนถอนฟันแน่ ๆ แล้ว ก็ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการถอนฟัน โดยหลัก ๆ แล้วก็จะต้องบอกถึงโรคประจำตัวแก่คุณหมอถ้ามี เพราะว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันบางโรคนั้นมีผลต่อการหาย การติดเชื้อของแผลหรือการหยุดของเลือด หากแพ้ยาตัวไหนก็ต้องบอกแพทย์ด้วย  นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม เช็คระดับความหิวของตัวเองที่จะไม่หิวข้าวหิวน้ำมากแล้วมาถอนฟัน ควรทานอาหารมาแล้วก่อนเข้ารับการถอนฟัน เมื่อเตรียมด้านร่างกายแล้วการเตรียมใจให้พร้อมก็สำคัญ บางคนกลัว บางคนตื่นเต้นมาก หากมีอาการเช่นนี้ก็ควรบอกทันตแพทย์ด้วย   ขั้นตอนการถอนฟันน่ารู้ เมื่อเตรียมตัวเตรียมใจมาพร้อมสำหรับการถอนฟันแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนในการถอนฟันที่ควรรู้ ซึ่งจะมีขั้นตอนไม่ซับซ้อนโดยคุณหมอจะใส่ยาชาลงไป หลังใส่ยาชาจะมีอาการชา แต่ยาอาจจะชาน้อยหรือไม่ชาในกรณีที่ฟันที่จะถอนมีการอักเสบหรือมีหนอง แพทย์อาจต้องใส่ยาชาลงไปในโพรงฟัน ซึ่งจุดนี้จะปวดมากในขณะใส่ยาชา จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงของการถอนฟันคุณอาจจะรู้สึกถึงแรงกด แรงดึงอยู่บ้าง […]