Category Archives: บทความ

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม   หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักรากฟันเทียมเท่าไรนัก เนื่องจากหากไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับฟันจริง ๆ ในชีวิตก็อาจจะไม่ต้องใส่รากฟันเทียมเลยก็ได้ แต่สำหรับคนที่มีแนวโน้มต้องทำรากฟันเทียมข้อมูลในวันนี้ก็จะมีประโยชน์มาก ๆ ซึ่งรากฟันเทียมเป็นเครื่องมือที่ทันตแพทย์นำมาใช้เพื่อทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ 1 ซี่หรือหลาย ๆ ซี่ก็ได้ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นรากฟันเทียมก็คือ รากเทียมที่ใส่เข้าไปในขากรรไกร โดยทันตแพทย์จะทำการยึดติดที่ครอบฟันหรือสะพานฟันให้เข้ากับรากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป   ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรากฟันเทียม ส่วนที่ใช้ทดแทนรากฟันประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ รากฟันเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู เดือยรองรับครอบฟันที่อยู่ติดกับเหงือก และครอบฟันที่อยู่ด้านบนของเหงือก ตัวของรากฟันเทียมจะคล้าย ๆ กับสกรูที่ทำมาจากโลหะไทเทเนียม หนาประมาณ 3-5 มม. ยาว 8-16 มม. จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6  เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมติดสนิทแนบแน่นกับกระดูก   ในการทำรากฟันเทียมคุณหมอจะนัดคนไข้เพื่อทำการรักษาประมาณ 4-8 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของการทำรากฟันเทียมด้วย ในการนี้จะเป็นการรวมตรวจรักษาทางทันตกรรมในครั้งแรกด้วย   เหตุผลที่ต้องทำรากฟันเทียม ความสำคัญของรากฟันเทียมนั้นเป็นไปเพื่อทดแทนฟันหายซี่ที่หายไปอันเนื่องมาจากการเป็นโรคฟันผุ โรคเหงือก การได้รับบาดเจ็บ หรือกรณีที่สูญเสียฟันที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อาจเทียบจำนวนคือหากคุณสูญเสียฟันหลายซี่คุณหมอก็จะฝังรากฟันเทียมหลายชิ้น เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับรองรับสะพานฟันหรือฟันปลอมแบบถอดได้  ซึ่งขั้นตอนในระหว่างการรักษาจะใช้เวลาไม่นาน […]

ฟันปลอม

ฟันปลอม ไม่ว่าวัยใดอาจมีการใส่ฟันปลอมได้ทุกเมื่อ เช่น บางคนฟันหักบางซี่ หรือบางคนฟันหักหรือสูญเสียฟันหมดปากเป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มีฟันปลอมอาจทำใช้ชีวิตของผู้คนขาดความมั่นใจได้ ฟันปลอมจึงมีส่วนช่วยเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่สูญเสียฟันหน้า จะช่วยได้มาก นอกจากนี้ฟันปลอมยังช่วยให้ความสามารถในการบดเคี้ยวทำงานได้ดีขึ้น เป็นการช่วยกระเพาะอาหารที่ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป รวมถึงการช่วยป้องกันฟันที่อยู่ข้างเคียงล้มเอียงหรือฟันคู่สบยื่นยาวเข้าหาช่องว่างที่สูญเสียฟันไปได้อีกด้วย   ขึ้นชื่อว่าฟันปลอมแล้ว ก็ต้องถูกทำขึ้นมาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติ และเป็นการช่วยให้ผู้ที่สูญเสียฟันมั่นใจในรอยยิ้มและมีการเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพ   มาทำความรู้จักฟันปลอมกัน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักฟันปลอมกันก่อนว่ามีกี่ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นฟันปลอมชนิดถอดได้ และฟันปลอมแบบติดแน่น ซึ่งฟันปลอมแบบถอดได้เป็นฟันปลอมที่ทำสำหรับคนที่ยังมีฟันแท้เหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันปลอมเพียงบางส่วน สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้  ซึ่งฟันปลอมสามารถแบ่งได้เป็น ฟันปลอมโครงโลหะ ฟันปลอมโครงอะคริลิกและฟันปลอมแบบถอดได้ทั้งปาก   ข้อดีและข้อเสียของฟันปลอมแบบถอดได้ ข้อดีของฟันปลอมชนิดนี้คือสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ช่วยในการบดเคี้ยวอาหารได้ หากมีการใส่ฟันหลายซี่หรือทั้งปากราคาจะถูกกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น ส่วนข้อเสียผู้ใส่จะเกิดความรำคาญในขณะพูดหรือในการเคี้ยวอาหาร  ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะต่ำกว่าฟันปลอมแบบอื่น ไม่มีความสวยงามเนื่องจากอาจมองเห็นตะขอที่ใช้เกี่ยวได้   ข้อดีและข้อเสียของฟันปลอมแบบติดแน่น ฟันปลอมแบบติดแน่นเป็นฟันปลอมแบบถาวรที่ยึดแน่นในช่องปาก ต้องอาศัยฟันแท้ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้ แบ่งเป็นเดือยฟัน ครอบฟันและสะพานฟัน ข้อดีของฟันปลอมแบบติดแน่นจะมีลักษณะและขนาดที่เหมือนกับฟันจริงมากกว่าแบบถอดได้ ทำให้รู้สึกดีว่าไม่มีเหงือกปลอมหรือตะขอมารบกวน ประสิทธิภาพการใช้งานดีมีความแข็งแรงและสวยงาม ส่วนข้อเสียคือจะต้องมีการกรอฟันข้างเคียงทำให้สูญเสียเนื้อฟัน และไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ หากแปรงไม่ดีอาจทำให้ฟันข้างเคียงผุและเป็นโรคเหงือกได้ รวมถึงฟันปลอมแบบนี้จะมีราคาที่สูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้   ไม่ว่าฟันปลอมแบบไหนก็ล้วนมีข้อดีและข้อเสีย จึงควรได้รับคำแนะนำจากทันตแพทย์เพื่อให้ได้ฟันปลอมที่เหมาะสมเฉพาะของแต่ละคนที่สุด   หลักในการดูแลฟันปลอมทั้งสองชนิด ถึงแม้จะเป็นฟันปลอมแต่เรื่องการดูแลรักษาทำความสะอาดก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เลย […]

ทำฟันจัดฟันสำหรับเด็ก

ทำฟันจัดฟันสำหรับเด็ก การเริ่มต้นช้าอาจทำให้บางสิ่งเกิดการเสียหายได้ เช่นเดียวกับเด็กน้อยหากเริ่มต้นในการใส่ใจดูแลฟันที่ช้าเกินไปอาจตรวจพบความเสียหายของฟันอย่างที่ไม่น่าจะเกิดได้ การทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กนั้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม การเริ่มดูแลฟันลูกรักตั้งแต่เยาว์วัยนั้นมีประโยชน์หลายประการ ซึ่งล้วนเป็นผลดีต่อตัวเด็กเองที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยการมีสุขภาพฟันดี คุณพ่อคุณแม่บางท่านก็เล็งเห็นความสำคัญนี้ ก็ได้ทำการศึกษาข้อมูลนานาประการที่เกี่ยวกับการทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กว่าควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุเท่าไร ต้องทำอะไรบ้างในช่วงไหน และก็หมั่นพาลูกไปพบหมอฟันเพื่อสร้างความคุ้นเคยและให้ลูกได้รับการดูแลรักษาสุขภาพฟันในช่องปากอย่างเหมาะสม   สร้างความคุ้นเคยในวัยเด็กด้วยการทำฟันจัดฟันสำหรับเด็ก เราต้องสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็กด้วยการพาเขาไปแวะเวียนในคลินิกทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กบ้าง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกันระหว่างเด็กกับหมอฟัน ที่แค่เห็นเด็ก ๆ ก็ใจสั่นด้วยความกลัวเสียแล้ว อาจเป็นเพราะเครื่องมือ หรือเป็นเพราะกลัวคุณหมอ หรือกลัวเจ็บ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ลึก ๆ ในใจของเด็กทุกคน หากถามเด็กว่าไปทำฟันไปหาหมอฟันกันไหม เด็ก ๆ คงตอบว่าไม่ไปแทบจะทุกคน นอกจากเด็กที่ได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากการไปทำฟันครั้งแรก ไม่มีการขู่บังคับ หรือหลอกให้กลัว พูดอธิบายให้เด็กฟังด้วยเหตุผลอย่างใจเย็น การให้ความร่วมมือของเด็กกลุ่มนี้ก็จะดีกว่า การพาเด็กไปพบหมอฟันตั้งแต่เล็กย่อมเป็นการพาให้เด็กเห็นภาพที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด คุณหมอทำฟันเด็กท่านมีจิตวิทยาในการพูดให้เด็กรู้จักเครื่องมือทำฟัน การทำความสะอาดฟัน การเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กเจ็บแต่อย่างใด จะมีก็เรื่องของการถอนฟันที่เด็กส่วนใหญ่จะกลัว จึงต้องพูดกันด้วยเหตุผล แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการปวดฟันย่อมเป็นสิ่งที่ทรมานกว่าการไม่ยอมไปหาหมอ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้มากขึ้นแก่เด็กคุณพ่อคุณแม่จึงควรพาเด็กไปคลินิกที่มีการทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กจะช่วยให้เด็กจดจำและมีประสบการณ์ที่ดีในการทำฟัน   คลินิกทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กมีบริการอะไรบ้าง? คลินิกทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กนั้น ก็มีการให้บริการที่ครบวงจรเช่นเดียวกับผู้ใหญ่อาจจะแตกต่างกันอยู่บ้างโดยมีทันตแพทย์สำหรับเด็กคอยให้คำปรึกษา ดูแลรักษาบุตรหลานของท่านให้มีสุขภาพในช่องปากที่ดี โดยคลินิกทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กนั้นเริ่มดูแลกันตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณ 12 ปี การให้บริการของคลินิกทำฟันจัดฟันสำหรับเด็กนั้นก็มีหลายอย่าง ได้แก่ การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ […]

ขูดหินปูน

ขูดหินปูน   หินปูนอยู่คู่กันเราทุกคนมาโดยตลอด ดังนั้น ทันตแพทย์จึงแนะนำให้เราไปรับการขูดหินปูนปีละ 1-2 ครั้ง หินปูนเกิดจากอะไรทำไมเราจึงหลีกไม่พ้นแม้ว่าจะพยายามทำความสะอาดฟันแล้วก็ตาม ซึ่งหากจะว่ากันตามความหมายแล้วหินปูนหรือหินน้ำลายก็คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เนื่องมาจากมีธาตุแคลเชียมจากน้ำลายในปากเข้าไปตกตะกอน เจ้าแผ่นคราบจุลินทรีย์นี่มีลักษณะสีขาวขุ่นและนิ่ม ซึ่งในนั้นจะเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่ติดอยู่บนตัวฟัน ถึงแม้ว่าคุณจะพยายามบ้วนน้ำสักเท่าไร ก็ไม่มีทางทำให้คราบจุลินทรีย์หลุดออกมาได้ โดยการเกิดคราบจุลินทรีย์นี้ เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่คุณแปรงฟันไปแล้วเพียงแค่ 2 – 3 นาทีเท่านั้น โดยจะมีเมือกใสในน้ำลายเข้ามาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่มากมายก็กรูกันมาทับถมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ ซึ่งคราบจุลินทรีย์นี่เองที่เป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ เมื่อคุณกินอาหารใด ๆ เข้าไป เจ้าคราบจุลินทรีย์นี้จะใช้น้ำตาลที่มาจากอาหารสร้างกรดและสารพิษทำลายเคลือบฟัน จึงทำให้ฟันผุและเหงือกอักเสบทำให้เกิดโรคปริทันต์ตามมา ถ้าคุณอยู่เฉย ๆ ไม่ยอมกำจัดคราบจุลินทรีย์ ด้วยการทำความสะอาดฟันและเหงือกอย่างถูกวิธีทุกวันแล้ว คราบจุลินทรีย์นี้จะเพิ่มขึ้น ๆ และเป็นอันตรายต่อเหงือกและฟัน  โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบคราบจุลินทรีย์ที่บริเวณคอฟัน ขอบเหงือกและซอกฟัน คนที่มีคราบจุลินทรีย์หนามาก ๆ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจจะใช้ลิ้นลองกวาดดูตามฟันก็จะสามารถรู้สึกได้   ไม่ขูดหินปูนได้หรือไม่? หลายคนหลีกเลี่ยงและผัดผ่อนในการไปขูดหินปูนทั้งที่รู้ตัวแล้วว่าตอนนี้มีหินปูนเยอะมาก ซึ่งการขูดหินปูนมีความจำเป็นเพราะบนพื้นผิวหินน้ำลายจะมีคราบจุลินทรีย์ที่ปกคลุมหินน้ำลายที่โผล่พ้นขอบเหงือกขึ้นมาจนมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ในส่วนที่อยู่ใต้เหงือกนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ที่ติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือกคุณไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพยายามอย่างหนักที่จะทำความสะอาดฟันแล้วก็ต้อง ซึ่งการขูดหินปูนนี้ต้องอาศัยทันตแพทย์ในการทำให้เท่านั้น ซึ่งทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือกจนหมดจนครบถ้วนทั้งปาก จากนั้นคุณหมอจะทำการขัดฟันให้เรียบโดยปราศจากสารพิษใด ๆ […]

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน   สำหรับคนที่เคยรักษารากฟันมาแล้ว คงรู้ดีว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งสาเหตุอันเนื่องมาจากการที่เรามีฟันผุแล้วปล่อยไว้ไม่ยอมรักษาหรือทำการอุดฟันเสียแต่เนิ่น ๆ จึงทำให้เกิดการลุกลามของโรคฟันที่ทำลายฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน เกิดมีการอักเสบ มีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งนำมาซึ่งอาการปวดแบบทรมาน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและยังคอยทำลายสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนถึงกับต้องยอมถอนฟันไปก็หลายราย และถ้าหากคิดได้ว่าอยากจะรักษาฟันเอาไว้ก็แทบจะหมดสิทธิ์เสียแล้ว   แต่อย่างไรก็ตามทันตแพทย์ย่อมสามารถที่ทำการรักษารากฟันให้กับคนไข้ได้ เพียงแต่ว่าวิธีการรักษาจะยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลไปถึงระยะเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคุณหมอก็ไม่ได้อยากให้คนไข้ตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ เพราะงานรักษารากฟันเป็นงานที่ค่อนข้างลำบาก ยิ่งเฉพาะฟันกรามซึ่งมี 3-4 รากด้วยแล้ว ซึ่งความสำเร็จในการรักษาจะเกิดมีได้คนไข้ก็ต้องเสียเวลาไปพบแพทย์หลายครั้งเพื่อรักษารากฟัน   หลักสำคัญในการรักษารากฟันก็คือ ถ้าฟันของคนไข้มีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะใส่ยาแคลเซียมไฮดรอกไซด์เพื่อฆ่าเชื้อให้ เมื่อภายในคลองรากฟันไม่มีเชื้อแล้ว คุณหมอจะทำการอุดและครอบฟันให้ต่อไป   ขั้นตอนสำคัญในการรักษารากฟัน 1.ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันเพื่อหาคลองรากฟัน ซึงมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ที่อยู่ต่อจากโพรงประสาทฟันถึงปลายรากฟัน 2.จากนั้นคุณหมอจะขยายคลองรากฟันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วนำน้ำยาล้างแล้วจึงซับให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อโรคลงไป ขยายคลองรากฟันให้ใหญ่ขึ้น เพื่อใช้น้ำยาล้าง ซับให้แห้ง และใส่ยาฆ่าเชื้อโรคได้ 3.ขั้นตอนต่อไปคุณหมอจะปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว รอเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ประมาณ 3-7 วัน 4.จากนั้นคุณหมอจะล้างและขยายคลองรากฟันและเปลี่ยนยาฆ่าเชื้อโรคใหม่และทำการอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราวอีกครั้ง ทำเหมือนกันนี้อีก 4-5 ครั้ง จนกว่าหนองจะแห้งและไม่มีเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตกค้าง 5.เมื่อเห็นว่าหนองแห้งดีแล้วและปราศจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรกตกค้าง คุณหมอจะทำการอุดปิดโพรงประสาทฟันแบบถาวรด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน อุดตั้งแต่ปลายรากฟันไปจนถึงพื้นของโพรงประสาทฟัน […]

อุดฟัน

อุดฟัน   การอุดฟันเป็นอะไรที่ใกล้ตัวพวกเรามาก เพราะเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็เคยผ่านการอุดฟันมาแล้วเกือบทั้งสิ้น สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธีจึงทำให้มีเศษอาหาร คราบแบคทีเรียสะสมอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของฟันผุ จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องพาตัวเองไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อที่จะได้แก้ไขหรือรักษาฟันทันทีกรณีพบสิ่งผิดปกติ ซึ่งจุดประสงค์ก็คือให้ฟันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ไม่เจ็บปวด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและจิต   ว่ากันตามหลักแล้วการอุดฟันก็คือการทำให้ฟันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยมีรูปร่างเหมือนหรือใกล้เคียงกับฟันเดิม การอุดฟันอาจเป็นไปเพื่อแก้ไขฟันเดิมให้ดีขึ้นหรืออุดฟันเพื่อให้สวยงามขึ้น และจะต้องใช้บดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ   ทำความเข้าใจในเรื่องของการอุดฟัน การอุดฟันไม่ได้ทำเฉพาะฟันที่มีรอยผุหรือเป็นรูเท่านั้น  ฟันที่แตก บิ่น ฟันที่มีรอยสึกอันเนื่องมาจากการแปรงฟัน อาหารที่รับประทาน ถ้ามีอาการเสียวฟันในขณะที่รับประทานอาหาร ของหวาน ดื่มน้ำเย็น ก็จะต้องทำการอุดก่อนการอุดฟัน โดยคุณหมอจะทำการเตรียมฟัน ณ บริเวณที่จะอุดก่อน เพื่อรองรับกับวัสดุที่จะใช้อุด ซึ่งถ้าเป็นฟันที่ผุก็จะต้องกรอรอยผุออกให้หมด คงเหลือแต่เนื้อฟันที่ดีเอาไว้ โดยฟันที่แตก บิ่น หรือสึก อาจจะต้องกรอหรือแต่งฟันบ้าง เพื่อให้มีขนาดและรูปร่างที่ต้องการ เพื่อที่วัสดุอุดจะได้ยึดอยู่กับเนื้อฟัน และมีความแข็งแรงที่จะบดเคี้ยวอาหารได้   วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันน่ารู้ บางคนที่เคยอุดฟันมาแล้วอาจมองเห็นวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันในปากของตัวเองเป็นสีเงิน ๆ บางคนก็มีสีใกล้เคียงกับสีฟัน ซึ่งวัสดุเหล่านี้ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เรามาลองทำความเข้าในในเรื่องของวัสดุเหล่านี้กัน 1.วัสดุอุดฟันที่เป็นโลหะผสม อาจเรียกวัสดุอุดฟันนี้ว่า อมัลกัม ตอนอุดใหม่ […]

สะพานฟัน

สะพานฟัน เมื่อพูดถึงสะพานฟันหลาย ๆ คนก็อาจจะงงบ้างเล็กน้อยว่าสะพานฟันมันคืออะไร ซึ่งสะพานฟันก็คือฟันปลอมชนิดติดแน่นนั่นเอง คำว่าติดแน่นก็หมายความว่าเมื่อถูกใส่เข้าไปแล้วไม่ต้องถอดออกมาอีก เป็นแบบติดถาวรเหมือนฟันแท้ของเราเลย ลักษณะของสะพานฟันก็เหมือนกับฟันธรรมชาติของเรา ไม่มีวัสดุอื่น เช่นตะขอ หรือแผ่นเหงือกปลอมใด ๆ ทั้งสิ้น ในการทำสะพานฟันนั้น คุณหมอจะทำการกรอฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่ถูกถอนไปแล้วนั้น เพื่อใช้เป็นหลักสำหรับยึดสะพานฟัน จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งไปทำสะพานฟัน เมื่อถึงคราวนัดครั้งต่อไป คุณหมอก็จะเช็คว่าสะพานฟันที่ทำมานั้นเข้าพอดีกับในปากหรือไม่ ถ้าพอดีหรือลงตัวแล้วคุณหมอจะทำการยึดสะพานฟันกับฟันของคุณ เป็นอันเสร็จสิ้นและคุณจะมีฟันใหม่ในการใช้งานไปอีกนานหากดูแลดี ๆ   ข้อเสียของสะพานฟัน อย่างไรก็ตามสะพานฟันก็มีข้อเสียเหมือนกันตรงที่ว่ากระบวนการทำที่ต้องกรอฟันที่ยังดีอยู่ที่อยู่ข้าง ๆ ช่องว่าง เพื่อใช้เป็นหลักยึดของฟัน ทำให้คุณรู้สึกเสียดายเนื้อฟันขึ้นมาได้  วิธีการทำรากฟันเทียมอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ถอนฟันไปแล้วแต่อยากใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นโดยไม่อยากกรอฟันข้างเคียงออก   สะพานฟันจะแข็งแรงเมื่อดูแลอย่างถูกวิธี การดูแลทำความสะอาดสะพานฟันอย่างถูกวิธีจะช่วยยืดอายุการใช้งานของสะพานฟันให้ยาวนานมากขึ้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสะพานฟันนั้นครอบอยู่บนฟันธรรมชาติเดิมของเรา ถ้าเราทำความสะอาดไม่ดีหรือไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดการผุตรงรอยต่อของสะพานฟันกับฟันธรรมชาติเดิมของเรา สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือหลังจากทำสะพานฟันแล้วควรดูแลทำความสะอาดฟันและฟันอย่างถูกวิธีในแต่ละวัน จะทำให้เรามีสะพานฟันที่แข็งแรงใช้ไปได้อีกนานเลยทีเดียว   การดูแลสะพานฟันให้มั่นคงแข็งแรง การดูแลรักษาสะพานฟันไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก ก็เหมือนกับการแปรงฟันตามปกติ เพียงแต่เพิ่มการใช้ไหมขัดฟันบริเวณส่วนกลางของสะพานฟันเป็นพิเศษ โดยใช้ตัวช่วยในการร้อยไหมขัดฟันที่รู้จักกันดีคือ Floss treader หรือ Super floss ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้คุณต้องพาตัวเองมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 […]

ครอบฟัน

ครอบฟัน หลายคนกำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับการครอบฟันว่าคืออะไรและมีขั้นตอนการทำอย่างไร ต้องใช้วัสดุแบบไหนถึงจะเหมาะ และการดูแลตนเองหลังครอบฟันเพื่อยืดอายุการใช้งานนั้นมีอะไรบ้าง  ซึ่งในวันนี้เราจะมาอธิบายแต่ละข้อมูลของครอบฟันแบบง่าย ๆ เพื่อเป็นไกด์สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองต้องรักษาฟันด้วยการครอบฟัน มาเริ่มกันเลยค่ะ   นิยามของการครอบฟัน การครอบฟันคือการทำให้ฟันที่ได้รับความเสียหายให้มีความแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ตามเดิม โดยฟันที่ใช้ในการครอบฟันทำจากวัสดุหลายประเภทตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการครอบฟันจะใช้กับฟันที่ผุมาก ๆ จนไม่สามารถอุดได้ หรือฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาทำให้ฟันเหล่านี้มีเนื้อฟันเหลืออยู่น้อย หากอุดต่อไปก็ไม่สามารถใช้งานได้นาน ซึ่งฟันอาจจะแตกก่อนได้   ขั้นตอนในการทำครอบฟัน สำหรับขั้นตอนในการทำครอบฟันนั้น ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1.คุณหมอจะทำการกรอฟันเพื่อเอาส่วนที่อ่อนแอออกคงไว้แต่ส่วนที่แข็งแรง 2.จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากเพื่อเอาแบบไปทำครอบฟัน 3.เมื่อได้ครอบฟันแล้วจะเอาครอบฟันมาสวมทับฟันอีกทีหนึ่ง 4.ยึดกับฟันด้วยซีเมนต์ที่ใช้สำหรับในช่องปาก 5.คุณจะมีฟันที่ใช้งานได้เหมือนเดิม   การแบ่งประเภทของวัสดุที่ใช้ในการครอบฟัน เราสามารถแบ่งประเภทของครอบฟันตามวัสดุได้ดังนี้ 1.ครอบฟันแบบโลหะล้วน ครอบฟันแบบโลหะล้วนเป็นครอบฟันที่ทำจากโลหะทั้งซี่ ลักษณะเป็นสีเงิน มีความแข็งแรงมาก เหมาะกับฟันกรามด้านใน เพราะสีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ 2.ครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะ ครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะ เป็นครอบฟันที่ด้านในเป็นโลหะมีหลายชนิด เช่น โลหะธรรมดา โลหะผสมทอง และเคลือบด้านนอกด้วยเซรามิก  มีความแข็งแรง สีเหมือนฟันธรรมชาติ 3.ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน ครอบฟันแบบเซรามิกล้วนเป็นครอบฟันที่ใช้เซรามิกทั้งชิ้น มีความสวยงาม เหมาะที่จะใช้ในบริเวณที่ต้องการความสวยงาม แต่จะแตกหักง่ายกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เซรามิกทนต่อการแตกหัก สามารถนำไปใช้ในฟันหลังที่ต้องรับแรงบดเคี้ยวได้ด้วย […]

ฟอกสีฟัน

ฟอกสีฟัน   เมื่อเอ่ยถึงการฟอกสีฟันแล้วเชื่อว่าหลายคนก็เข้าใจถูกต้องตรงกันว่าเป็นการทำให้ฟันที่เดิมมีสีคล้ำ ให้ขาวขึ้น โดยแรกเริ่มของฟันคล้ำนั้นก็มีสาเหตุอยู่ 2 ประการที่เรียกว่าสาเหตุที่มาจากภายนอกตัวฟัน ก็เช่น สีของอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ เป็นต้น ส่วนอีกประการคือสาเหตุจากภายในตัวฟันเอง เช่น มีการสะสมสารที่มีสีข้างในเนื้อฟันในขณะสร้างฟัน หรือกรณีฟันตาย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การฟอกสีฟันจึงมีหลายวิธี ซึ่งจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับต้นเหตุของการเปลี่ยนสีนั้น   สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องของสีฟันคล้ำนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีหลายคนที่หาวิธีที่จะทำให้ฟันของตนดูขาวขึ้น ซึ่งการฟอกสีฟันก็เป็นหนึ่งในวิธีที่เห็นผล และช่วยให้คนมีปัญหาฟันคล้ำยิ้มได้ แน่นอนว่าฟันขาวย่อมมีชัยเหนือฟันคล้ำทำให้รอยยิ้มดูสดใสมากขึ้น อีกทั้งทำให้ฟันสีคล้ำ สีเหลืองและที่มีคราบบนฟันมีความขาวขึ้น   ประเภทของการฟอกสีฟัน ก่อนอื่นเรามารู้จักประเภทของการฟอกสีฟันกันก่อน เพื่อจะได้เลือกวิธีที่นำมาใช้กับตนได้ตามความต้องการ โดยเริ่มจากการฟอกสีฟันที่ทำโดยทันตแพทย์ การฟอกสีฟันที่นำอุปกรณ์และน้ำยาไปทำเองที่บ้าน การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ที่ใช้เวลาทำภายใน 1 ชั่วโมง เท่านั้น โดยผู้รับบริการสามารถเห็นถึงความแตกต่างได้ทันทีหลังรักษา แต่ในการฟอกสีฟันที่นำไปทำเองที่บ้านนั้น ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งถึงเห็นความแตกต่างได้   ข้อปฏิบัติหากมีอาการเสียวฟันจากการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ หลังฟอกสีฟันแล้วต้องดูแลตนเองในระยะแรกคือ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ ไวน์แดง รวมถึงการงดสูบบุหรี่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะอาหารเหล่านี้ก่อให้เกิดคราบสีบนฟัน นอกจากนี้การดูแลความสะอาดของฟันอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ความขาวคงอยู่ได้นานมากขึ้น และสิ่งหนึ่งที่ตามมาหลังการฟอกสีฟันนั่นคืออาการเสียวฟันในกรณีฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ ช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นหรือมีความเปรี้ยวเป็นกรดสูง […]

จัดฟัน

สำหรับคนที่คิดจะจัดฟันนั้น อาจต้องหาข้อมูลในส่วนของข้อดีและข้อเสียของการจัดฟันกันสักหน่อย เพราะถ้าหากมองแต่ข้อดีมากเกินไปก็อาจจะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น คนที่กำลังคิดจะจัดฟันควรจะได้มองเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจเข้ารับการจัดฟัน ส่วนข้อดีและข้อเสียในการจัดฟันจะเป็นเรื่องอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันเลยค่ะ ข้อดีของการจัดฟัน 1.เพิ่มความมั่นใจเสริมบุคลิกภาพ เรียกว่าการจัดฟันได้รับการยอมรับมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเลยทีเดียว เพราะการจัดฟันมีข้อดีที่หลายคนเห็นด้วย ถึงแม้ว่าบางคนจะรู้ช้าไปสักนิด เช่น อายุ 50 มาจัดฟัน ซึ่งก็ถือว่าจัดฟันได้เช่นกัน  ข้อดี   หลัก ๆ ที่ทุกคนยอมรับในการจัดฟันนั้นก็คือ ความสวยงาม แน่นอนว่าคนที่ไปจัดฟันก็ต้องเห็นแล้วว่าลักษณะของฟันนั้นมีปัญหา ซึ่งทันตแพทย์จะยืนยันอีกทีว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด คนที่จัดฟันเรียบร้อยดีแล้วจะเห็นว่ามีความสวยงามของใบหน้าและรอยยิ้มที่ดีขึ้น นี่เองที่หลายคนอยากได้ผลของการจัดฟัน เพราะให้คุณค่าทางจิตใจในระยะยาว ต่างจากคนที่มีปัญหาแต่ไม่ได้เข้ารับการจัดฟัน ก็จะอยู่กับฟันที่มีปัญหาและรอยยิ้มที่บางครั้งตนเองก็ยังอายที่จะเผยรอยยิ้ม คนที่จัดฟันจะมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการไปสมัครงานซึ่งผู้สัมภาษณ์มักจะมองดูบุคลิกภาพ อารมณ์ ใบหน้าที่มีรอยยิ้ม ก็มักจะได้รับโอกาสการรับเข้าทำงานมากกว่า   2.แก้ไขปัญหาฟันในช่องปาก นอกจากเรื่องความสวยความงามที่เป็นผลพลอยได้จากการจัดฟันแล้ว ในเรื่องสรีระของฟันในช่องปากก็ได้รับการปรับกระบวนใหม่ทั้งปาก เช่น ในกรณีการสบฟันที่มีปัญหา เมื่อจัดฟันแล้ว จะทำให้การสบฟันดีขึ้นกว่าเก่า ส่งผลให้การบดเคี้ยวอาหารก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อการบดเคี้ยวอาหารดี สุขภาพก็จะดีตามมา เพราะฟันเป็นปราการด่านแรกในการช่วยย่อยบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง ก่อนเคลื่อนสู่กระเพาะ ทำให้กระเพาะไม่ต้องรับภาระหนักเกินไป   3.ทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้น สำหรับคนที่มีปัญหาฟันซ้อนเก ฟันยื่น ฯลฯ คงจะลำบากในการทำความสะอาดไม่น้อยเมื่อแปรงฟันคราใดก็ไม่ทั่วถึงสักที […]