รักษารากฟัน

รักษารากฟัน

 

สำหรับคนที่เคยรักษารากฟันมาแล้ว คงรู้ดีว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งสาเหตุอันเนื่องมาจากการที่เรามีฟันผุแล้วปล่อยไว้ไม่ยอมรักษาหรือทำการอุดฟันเสียแต่เนิ่น ๆ จึงทำให้เกิดการลุกลามของโรคฟันที่ทำลายฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน เกิดมีการอักเสบ มีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งนำมาซึ่งอาการปวดแบบทรมาน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและยังคอยทำลายสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนถึงกับต้องยอมถอนฟันไปก็หลายราย และถ้าหากคิดได้ว่าอยากจะรักษาฟันเอาไว้ก็แทบจะหมดสิทธิ์เสียแล้ว

 

แต่อย่างไรก็ตามทันตแพทย์ย่อมสามารถที่ทำการรักษารากฟันให้กับคนไข้ได้ เพียงแต่ว่าวิธีการรักษาจะยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลไปถึงระยะเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคุณหมอก็ไม่ได้อยากให้คนไข้ตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ เพราะงานรักษารากฟันเป็นงานที่ค่อนข้างลำบาก ยิ่งเฉพาะฟันกรามซึ่งมี 3-4 รากด้วยแล้ว ซึ่งความสำเร็จในการรักษาจะเกิดมีได้คนไข้ก็ต้องเสียเวลาไปพบแพทย์หลายครั้งเพื่อรักษารากฟัน

 

หลักสำคัญในการรักษารากฟันก็คือ ถ้าฟันของคนไข้มีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะใส่ยาแคลเซียมไฮดรอกไซด์เพื่อฆ่าเชื้อให้ เมื่อภายในคลองรากฟันไม่มีเชื้อแล้ว คุณหมอจะทำการอุดและครอบฟันให้ต่อไป

 

ขั้นตอนสำคัญในการรักษารากฟัน

1.ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันเพื่อหาคลองรากฟัน ซึงมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ที่อยู่ต่อจากโพรงประสาทฟันถึงปลายรากฟัน

2.จากนั้นคุณหมอจะขยายคลองรากฟันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วนำน้ำยาล้างแล้วจึงซับให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อโรคลงไป ขยายคลองรากฟันให้ใหญ่ขึ้น เพื่อใช้น้ำยาล้าง ซับให้แห้ง และใส่ยาฆ่าเชื้อโรคได้

3.ขั้นตอนต่อไปคุณหมอจะปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว รอเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ประมาณ 3-7 วัน

4.จากนั้นคุณหมอจะล้างและขยายคลองรากฟันและเปลี่ยนยาฆ่าเชื้อโรคใหม่และทำการอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราวอีกครั้ง ทำเหมือนกันนี้อีก 4-5 ครั้ง จนกว่าหนองจะแห้งและไม่มีเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตกค้าง

5.เมื่อเห็นว่าหนองแห้งดีแล้วและปราศจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรกตกค้าง คุณหมอจะทำการอุดปิดโพรงประสาทฟันแบบถาวรด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน อุดตั้งแต่ปลายรากฟันไปจนถึงพื้นของโพรงประสาทฟัน แล้วปิดทับด้วยวัสดุทางทันตกรรมที่เหมาะสม

6.ในระหว่างนี้คุณหมอจะทิ้งช่วงเวลาเพื่อรอดูอาการซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคล และเมื่อมั่นใจว่าการรักษารากฟันเป็นไปด้วยดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันให้ต่อไป

 

ข้อดีของการรักษารากฟันคือสามารถเก็บรักษาฟันไว้ใช้งานต่อไปได้ ซึ่งดีกว่าการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้ว ก็เหมือนกับฟันซี่อื่นในปากที่มีเบ้ากระดูดยึดให้ฟันแน่นและมั่นคงแข็งแรง แถมให้ความรู้สึกที่ดีกว่าใส่ฟันปลอมหลายเท่า

 

ข้อควรปฏิบัติหลังเข้ารับการรักษารากฟัน

1.ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเคี้ยวอาหารบริเวณที่ได้รับการรักษารากฟัน เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันเหลือน้อย

2.หากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมา ให้คุณรีบไปพบทันตแพทย์ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถเข้าสู่คลองรากฟันได้

3.อย่าละเลยที่จะไปพบแพทย์ตามนัดในระหว่างการรักษาคลองรากฟันที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง มิเช่นนั้น ฟันซี่นั้นอาจถูกถอนออกไปได้

4.ไม่ควรปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ เพราะเชื้อโรคจะไปทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ทำให้เวลาเคี้ยวมีอาการเจ็บหรือมีตุ่มหนองในปากหรือบริเวณใบหน้า หากกระดูกที่รองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก อาจต้องถอนฟันทิ้ง

5.อาจมีอาการปวดซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการรักษา  ซึ่งหลังจากรักษารากฟันแล้ว อาจมีการปวดระหว่างการรักษากับการปวดหลังการรักษาเรียบร้อยแล้ว

6.คนไข้ที่เข้ารับการรักษารากฟันต้องให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์ในการมาตามนัด

 

หลายคนสงสัยว่าเมื่อเรารักษารากฟันแล้วจะสามารถอยู่ได้นานเท่าไร? คำตอบก็คือสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิต ถ้ามีการดูแลเป็นอย่างดี ฟันสามารถผุได้อีกหลังเข้ารับการรักษาแล้ว จึงควรดูสุขอนามัยในช่องปากให้ดี  ตลอดจนการไปพบทันตแพทย์สม่ำเสมอก็จะช่วยให้อายุการใช้งานเป็นไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว

 

ป้องกันไว้ก่อนจะสายจะได้ไม่ต้องรักษารากฟัน

การรักษารากฟันเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาของทันตแพทย์ ที่ช่วยให้คุณได้มีฟันสำหรับใช้งานได้ต่อไปโดยไม่ต้องถอนทิ้ง แต่อย่างไรก็ตามหลังรักษารากฟันแล้วก็ต้องดูแลฟันซี่อื่นให้ดีด้วย หากเกิดการผุก็อย่าอดทนปล่อยไว้จนแก้ยาก ต้องรีบไปอุดหรือทำฟันให้เรียบร้อย เรียกว่ารู้ตัวไวก็ไปก่อน ไม่ต้องผัดผ่อนจนเกิดการเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายที่ตามมาซึ่งไม่คุ้มเลย

 

ท้ายนี้ที่อยากฝากไว้ในเรื่องของการทำความสะอาดฟันที่รักษารากฟันมาแล้วยังคงต้องเน้นกันอยู่เสมอเพราะมีส่วนทำให้ฟันของเราจะอยู่หรือจะไปหรือจะผุมากน้อยเพียงใด ทางที่ดีควรไปให้ทันตแพทย์ตรวจทุก ๆ 6 เดือน จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีและมีสุขภาพฟันดีตลอดไป

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *